สมุนไพรแก่นตะวัน รักษาเบาหวาน ลดน้ำตาลและไขมันในเลือด

0
1644

สมุนไพรแก่นตะวัน มีชื่อ อังกฤษว่า Jerusalem artichoke หรือ Sunchoke มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Helianthus tuberosus L. ตามข้อมูลของ Wikipedia ฉบับภาษาไทย ได้กล่าวไว้ว่า แก่นตะวันเป็นพืชตระกูลทานตะวัน มีถิ่นกำเนิดแถบทวีปอเมริกาเหนือ และมีความคงทนต่อทุกสภาพการปลูก มีสรรพคุณเป็น สมุนไพรรักษาเบาหวาน ลดน้ำตาลในเลือด ลดความอ้วน ลดไขมันในเลือด และสามารถนำไปแปรรูปในเชิงอุตสาหกรรมทางอาหารได้แต่หลักๆ แล้วจะมุ่งไปทางด้านสุขภาพ เรามาติดตามว่า เจ้าสมุนไพรแก่นตะวันนี้จะช่วยให้สุขภาพของเราดีในด้านใดบ้าง รวมทั้งที่มาของชื่อแก่นตะวัน

 

สมุนไพรแก่นตะวันภาพหัวแก่นตะวันจาก – th.wikipedia.org

สารอาหารในแก่นตะวัน สมุนไพรรักษาเบาหวาน

ภายในหัวแก่นตะวันจะมีน้ำอยู่ถึง 80% คาร์โบไฮเดรต ประมาณ 18% และสารอาหารที่พบในแก่นตะวัน มีด้วยกัน 2 ชนิด ตามคำบอกกล่าวของ ดร.ครรชิต จุดประสงค์ อาจารย์สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ว่า แก่นตะวันมีส่วนประกอบของอินนูลินและฟรุคโตโอลิโกแซคคาไรด์ในปริมาณสูง ซึ่งสารทั้งสองชนิดมีคุณสมบัติเป็นใยอาหารชนิดละลายน้ำได้ดีกว่าใยอาหารชนิดอื่นๆ จึงถูกแบคทีเรียย่อยสลายได้ กลายเป็นอาหารที่ดีของจุลินทรีย์ในลำไส้ใหญ่ของคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งจุลินทรีย์ที่ส่งผลดีต่อสุขภาพ และมีสรรพคุณเป็นสมุนไพรรักษษเบาหวานด้วย

ประโยชน์เบื้องต้น

เราใช้ประโยชน์ จากหัวแก่นตะวัน ในการกินหัวสด กินเป็นผักสด ใช้ทำขนมหรือต้มรับประทานทานแล้วไม่รู้สึกหิว

สรรพคุณ ลดน้ำตาลในเลือด เบาหวาน

ใครที่เป็นเบาหวาน ลองหันมาทานแก่นตะวัน ด้วยรสชาติหวาน สามารถกินแทนน้ำตาล โดยไม่ส่งผลกระทบต่อระดับน้ำตาลในเลือด ถึงแม้จะบริโภคในปริมาณมากก็ตาม ผู้ป่วยเบาหวานที่ขาดน้ำตาลไม่ได้ ก็ลองทานเป็นประจำทำให้รู้สึกว่าได้รับน้ำตาลตลอด แต่น้ำตาลในเลือดจะลดลง

ช่วยควบคุมและลดน้ำหนัก

จุดเด่นในสมุนไพรแก่นตะวันพบว่า คาร์โบไฮเดรตที่มีอยู่ในแบบอินนูลิน (Inulin) มีลักษณะคล้ายแป้ง มีคุณสมบัติในการรักษาสมดุลของสารอาหารที่ได้จากการบริโภค ความหมาย คือ สามารถบริโภคแก่นตะวันได้ในปริมาณมาก แต่ยังคงรักษาระดับพลังงานให้คงที่ จึงใช้เป็นอาหารควบคุมน้ำหนักได้ ส่วนลดน้ำหนัก เมื่ออยู่ในกระเพาะ และลำไส้เล็ก จะไม่ถูกย่อย และจะอยู่ในระบบทางเดินอาหารเป็นเวลานาน ส่งผลทำให้ไม่รู้สึกหิว กินอาหารได้น้อยลง ด้วยคุณสมบัติดังกล่าวสามารถช่วยลดน้ำหนัก ลดอ้วนได้ เป็นอย่างดี

กรดไขมันที่มีประโยชน์

แก่นตะวันเมื่อรับประทาน เข้าไปในท้อง ผ่านลำไส้ใหญ่ จะมีจุลินทรีย์บางชนิดช่วยย่อยให้เป็นกรดไขมันสายสั้นๆ เช่น ไบฟิโดแบคทีเรีย เป็นต้น กรดไขมันตัวนี้ จะเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ตัวดีในลำไส้ที่สามารถกำจัดจุลินทรีย์ที่ไม่ดีต่อร่างกาย ส่งผลให้ลำไส้ทำงานได้ตามปกติ และเพิ่มภูมิคุ้มกันร่างกายได้อีกด้วย

เส้นใยอาหารในแก่นตะวันช่วยลดไขมันในเลือด

สมุนไพรแก่นตะวันช่วยป้องกันไขมันในเลือดสูง เนื่องจากเส้นใยของแก่นตะวันจะช่วยดูดซับน้ำมันและน้ำตาลที่เรารับประทานเกินไว้ เช่น คอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ หรือไขมันเลว ที่เรารับประทานเข้าไปทิ้งออกทางอุจจาระ ส่งผลให้ไขมันในเลือดลดลงไปด้วย

วิธีทานแก่นตะวัน

สมุนไพรแก่นตะวัน จะทานสด หรือจะใช้ปรุงเป็นอาหารแทนมันฝรั่งก็ได้ เนื้อจะมีรสหวาน ใช้ใส่ในสลัด จะต้ม จะนึ่ง ก็ได้ สารอาหารเพียบ กินแล้วมีประโยชน์ทั้งนั้น

ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากแก่นตะวัน

เนื่องจากแก่นตะวันได้รับความนิยมในหมู่คนรักสุขภาพมาก ทำให้มีการส่งเสริมในการปลูกมากขึ้น และก็ได้แปรรูปในด้านอาหารได้หลายอย่าง เช่น ข้าวเกรียบ น้ำพริก ยาสมุนไพรลดความอ้วน แก่นตะวันผงใช้ปรุงหลังอาหาร

แก่นตะวัน – พลังงานทดแทน

อ้างจากข้อมูลเว็ปไซด์ ผู้จัการ (Manager.co.th) ได้ให้ข้อมูลว่า สามารถแปรรูปเป็นเอทานอล พลังงานทดแทน ซึ่งข้อมูลเบื้องต้นพบว่า หัวแก่นตะวัน เป็นพืชที่มีความหวานให้น้ำตาล สามารถใช้จุลินทรีย์หมักเป็นเอทานอลได้ โดยหัวแก่นตะวันสด 1 ตัน สามารถหมักและสกัดเป็นเอทานอลได้ 80 ลิตร เมื่อเทียบกับอ้อย 1 ตันสามารถหมักเป็นเอทานอลได้ประมาณ 65-70 ลิตร

ลักษณะของแก่นตะวัน

ก่อนอื่นมาทำความรู้จัก ลักษณะกันก่อน เจ้าสมุนไพรแก่นตะวัน เป็นพืชล้มลุก มีต้นคล้ายทานตะวัน มีดอกสีเหลือง มีหัวใช้สะสมอาหาร หัวแก่นตะวันจะมีลักษณะคล้าย กับขมิ้น ขิง หรือข่า มีสีหลากหลายสี เช่น เหลือง แดง ขาว ม่วง มีผิวใบสาก รูปใบปลายแหลม ลำต้นสูงประมาณ 2 เมตร ออกดอกสีเหลืองคล้ายกับดอกทานตะวัน

การเพาะปลูกและดูแล

สมุนไพรแก่นตะวันเป็นพืชที่ปลูกง่าย ลักษณะปลูกคล้ายกับ ขมิ้นชัน เติบโตในดินร่วนปนทรายได้ดี และให้ผลผลิตดีด้วยดินร่วนปนทรายสามารถปลูกได้ทุกฤดู โดยเฉพาะช่วงฤดูฝนจะดีที่สุด แต่ระวังอย่าให้น้ำขัง เพราะจะทำให้หัวแก่นตะวันเน่าได้

วิธีการปลูก

เตรียมแปลงดิน ด้วยการยกร่อง แล้วตากแดดเอาไว้ 15 วัน เพื่อฆ่าเชื้อราในดิน และฆ่าวัชพืช จากนั้นให้พรวนดิน และปรับสภาพดินด้วยการโรยปุ๋ยคอก ทำการขุดหลุมขนาด 10×15 เซนติเมตร ระยะห่างระหว่างหลุมต่อหลุมที่ 50 เซนติเมตร จากนั้นนำพันธุ์ ที่เป็นแง่งมีตา ประมาณ 3 ตา ลงหลุม แล้วรดน้ำเช้าเย็น การใส่ปุ๋ย – หลังจากลงแปลงปลูกไปแล้ว ประมาณ 15 วัน ให้ทำการใส่ปุ๋ย แนะนำให้ใช้ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยอินทรีย์

ระยะของการเก็บเกี่ยว

แก่นตะวันเป็นพืชอายุสั้น ประมาณ 120 วัน ก็สามารถเก็บเกี่ยวได้แล้ว โดยในช่วง 60 วันแรก แก่นตะวันจะสะสมสารอาหารในใบ และลำต้น และจากนั้นนับต่อจนถึงระยะเวลาประมาณ 80 วัน(60 + 80 = 120 วัน) ใบแก่นตะวันก็จะร่วง และต้นก็จะเริ่มเหี่ยวประมาณ 50% ของลำต้น ก็สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้เลย ถ้าปลูกมากก็ใช้เครื่องจักรในการเก็บเกี่ยว

ผลสรุปวิจัยแก่นตะวันจากมหาลัยต่างๆ

ม. มหิดล – โดยสรุปหากเปรียบเทียบกับปริมาณการรับประทานต่อหนึ่งหน่วยบริโภคที่ 70 กรัมต่อคนที่รับประทานต่อวัน จะได้รับอินนูลินสูงถึงประมาณ 13.6 กรัม และฟรุกโตโอลิโกแซคคาไรด์ประมาณ 3.6 กรัม ซึ่งถ้ามีการสนับสนุนและบริโภคกันเป็นประจำจากคุณสมบัติความเป็นใยอาหารและพรีไบโอติกของอินนูลินและฟรุกโตโอลิโกแซคคาไรด์ จะมีส่วนช่วยเสริมภูมิคุ้มกันและป้องกันโรคเรื้อรังบางโรคได้ดี โดยไม่จำ เป็นต้องได้รับการเสริมอินนูลินและฟรุกโตโอลิโกแซคคาไรด์ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีจำหน่ายอยู่ทั่วไปอย่างไรก็ตามแก่นตะวันยังเป็นที่รู้จักกันเฉพาะในกลุ่มที่ดูแลสุขภาพเท่านั้นและในด้านการเพาะปลูกยังมีปริมาณที่จำกัดด้วย พบได้ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่นหนองคาย ขอนแก่น อุดรธานี มหาสารคาม สกลนครนครราชสีมา นครพนม ร้อยเอ็ด และในเขตภาคกลางของจังหวัดลพบุรี สระบุรี เป็นต้น เนื่องจากแก่นตะวันมีปริมาณอินนูลินสูง จึงควรได้รับการสนับสนุนให้มีการเพาะปลูกและบริโภคเป็นอาหารให้แพร่หลายมากขึ้น รวมทั้งนำ ไปพัฒนาสู่อุตสาหกรรมอาหารต่อไป

ม. ขอนแก่น – ให้นิยามและที่มาของชื่อ รองศาสตราจารย์ ดร. สนั่นจอกลอย และ รองศาสตราจารย์ ดร. นิมิต วรสูตร ภาควิชาพืชศาสตร์และทรัพยากรการเกษตรมหาลัยขอนแก่น ได้กล่าว บน Youtube.com ชื่อเรื่อง “แก่นตะวัน…พืชเพื่อสุขภาพ” เผยแพร่เมื่อ Feb 15, 2012 ได้กล่าวว่า แก่นตะวัน เป็นพืชนำมีปลูก แถบ อเมริกา และ แคนาดา แต่ชื่อเรียกยาก ก็เลยมาตั้งชื่อใหม่ เป็น แก่นตะวัน โดย คำว่า “แก่น”มีความหมายว่า “ทน” และ คำว่า “ตะวัน” ก็มาจากว่าพืชชนิดนี้มีความใกล้ชิดกับต้นทานตะวัน ก็เลย ตั้งชื่อเป็น “แก่นตะวัน” และนั่นก็เป็นที่มาของชื่อนั่นเองส่วนทางด้านสุขภาพท่านได้กล่าวว่า แก่นตะวันมีสารที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพของผู้บริโภค แป้งที่อยู่ในแก่นตะวัน จะต่างจากแป้งที่อยู่ในเผือกในมัน เป็นน้ำตาลคนละชนิด เมื่อเราทานแก่นตะวันไปแล้ว ในระบบทางเดินอาหารจะไม่ย่อย เพราะฉะนั้นคาร์โบไฮเดรต ชนิดนี้เวลาทานไปแล้วทำให้รู้สึกอิ่มนาน เพราะว่ามันไม่ย่อย และเมื่อแก่นตะวันเดินทางไปถึงลำไส้ใหญ่ ก็จะถูกกระบวนการหมักโดยมีจุลินทรีย์ที่ย่อยสลายได้ ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น ไบฟิโดแบคทีเรีย เป็นสายพันธุ์ที่ได้รับการวิจัยว่า ทนทานต่อกรดในกระเพาะ และสามารถผ่านทางเดินอาหารลงไปถึงลำไส้ใหญ่ในสภาพของแบคทีเรียมีชีวิต และจุลินทรีย์ที่มากขึ้น ก็ไปทำลายจุลินทรีย์ที่ให้โทษต่อร่างกาย ส่งผลให้สุขภาพของเรามีภูมิคุ้มกันมากขึ้น ช่วยลดโอกาสเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้อีกด้วย และแป้งในแก่นตะวัน เป็นคาร์โบไฮเดรตที่ให้พลังงานต่ำ ทำให้ลดความอ้วน และก็ลดความเสี่ยงของโรคเบาหวานด้วย แป้งและน้ำตาลในแก่นตะวันเป็นไฟเบอร์ชั้นยอดที่สามารถละลายน้ำได้ เมื่อกินเข้าไปแล้วมันก็เข้าไปรวมในหลอดเลือดส่งผลให้ ลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ

ผลข้างเคียงจากการบริโภคแก่นตะวัน

จากบทให้สัมภาษณ์ ของอาจารย์ นิมิต วรสูตร กล่าวว่า การทานสมุนไพรแก่นตะวันมาก ยังไม่พบว่ามีความเสี่ยงแต่อย่างใด ถ้าทานปกติทั่วไป หรือทานสดๆ

คำแนะนำ : แม้จะมีข้อดีอยู่หลายประการ ในการที่จะทานในปริมาณมากในคราวเดียวก็ไม่สู้ดีนัก เนื่องจากแก่นตะวันมีเส้นใยอาหารที่สูง และการรับประทานสารสกัดในปริมาณที่มากเกินไปอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ เช่น ไม่สบายท้อง ท้องเสีย จุกเสียดแน่นท้อง ท้องอืดท้องเฟ้อ หรือมีอาการคลื่นไส้ เป็นต้น ซึ่งอาการดังกล่าวจะพบได้น้อยและไม่มีผลกระทบต่อผู้รับประทานมากนัก แต่ถ้าให้ดี ให้ดูวิธีการใช้บนฉลาก รับประทานสารสกัดดังกล่าวในปริมาณที่เหมาะสม หรือเลือกรับประทานในรูปของแก่นตะวันสดในรูปของอาหาร จะยิ่งช่วยคงคุณค่าของสารอาหารและเส้นใยไว้อย่างครบถ้วนอีกด้วย

สมุนไพรแก่นตะวัน เป็นพืชที่ให้ประโยชน์ต่อร่างกาย เสริมภูมิคุ้มกันโรค เป็นสมุนไพรรักษาเบาหวาน โดยดูและระบบลำไส้ของเราให้สะอาดปราศจากเชื้อจุลินทรีย์ที่ไม่ดี ในลำไส้ใหญ่ นำไขมันที่ไม่ดีออกจากร่างกายและถ่ายออกมาทางอุจาระ ส่งผลให้ลดไขมันในเส้นเลือด เมื่อระบบลำไส้ดีก็ส่งผลให้การดูดซึมแร่ธาตุอาหารได้ดี ทำให้ร่างกายดีไปด้วย ไม่มีอะไรดีไปกว่าการมีสุขภาพที่ดีจากข้างในออกมาสู่ภายนอกอีกแล้ว

ข้อมูลอ้างอิง

สมุนไพรแก่นตะวัน th.wikipedia.org
อาหารเป็นยา แก่นตะวัน ต้านโรคอ้วน manager.co.th
มข.ดัน แก่นตะวัน พืชเศรษฐกิจใหม่ แปรรูปผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ พลังงานทดแทน manager.co.th
อินนูลินและฟรุกโตโอลิโกแซคคาไรค์ในแก่นตะวันสายพันธุ์ต่างๆ resjournal.kku.ac.th (pdf)

Previous articleสมุนไพรรักษา โรคสะเก็ดเงิน (โรคเรื้อนกวาง)
Next articleล้างสารพิษในร่างกาย (Detox) เพื่อสุขภาพ เพิ่มภูมิคุ้มกันโรค