อาการกระดูกพรุน สาเหตุโรค การป้องกันและรักษา

0
1639

กระดูกประกอบด้วยโปรตีน ที่ชื่อว่าคอลลาเจน เป็นส่วนใหญ่ และเกลือแคลเซียมฟอสเฟสที่ช่วยให้กระดูกแข็งแรง และทนต่อการดึงรั้ง กระดูกจะมีการผลัดเซลล์เก่าออกแล้วสร้างเซลล์ใหม่ขึ้นมาแทนอยู่ตลอดเวลา เซลล์ที่สลายกระดูกก็จะมีหน้าที่ทำลายเนื้อกระดูกไปเรื่อย ส่วนเซลล์สร้างกระดูกก็จะสร้างเนื้อกระดูกเติมลงไป ทำให้กระดูกมีสภาพเหมือนเดิม กระดูกของมนุษย์เรามีความแข็งราวกับก้อนหิน ในวัยเด็กจะมีการสร้างมากกว่าการสลาย จึงทำให้เด็กมีการเจริญเติบโต และแข็งแรง จนกระทั่งอายุ 30 ปี กระดูกจะเริ่มสลายมากกว่าสร้าง ทำให้เกิด อาการกระดูกพรุน ยิ่งในวัยทองหรือวัยที่หมดประจำเดือนกระดูกจะยิ่งสลายเร็วมากยิ่งขึ้น

อาการกระดูกพรุนอาการกระดูกพรุน (Osteoporosis) คือภาวะที่มวลกระดูกมีความหนาแน่นลดลง เนื้อกระดูกบางลง มีความแข็งแรงน้อยลง กระดูกพรุนเกิดจากการไม่สมดุลของเซลล์สร้างกระดูก และเซลล์ทำลายกระดูก ส่งผลให้กระดูกมีการเปราะบาง โก่ง งอ และ หักง่าย โดยเฉพาะกระดูกบริเวณสะโพก กระดูกสันหลัง และกระดูกข้อมือ กว่าจะทราบว่าอยู่ในภาวะกระดูกพรุนก็ต่อเมื่อกระดูกหักเสียแล้ว เรียกว่าเป็นภัยเงียบอย่างแท้จริงเลยคะ

ทำไมตำแหน่งของกระดูกที่มีหักจึงเป็น ข้อมือ สะโพกและกระดูกสันหลัง เพราะเมื่อเราจะล้ม มักจะเอาข้อมือยันพื้นไว้เพื่อประคองตัวเอง หรือ มักเอาก้นกระแทกกับพื้นก่อน ซึ่งอาจส่งผลให้กระดูกสันหลังหักด้วย

อาการกระดูกพรุนมักจะเกิดในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากผู้ชายมีความหนาแน่นของมวลกระดูกมากกว่าและเมื่อผู้หญิงเข้าสู่วัยทองระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนจะลดลงอย่างรวดเร็วทำให้เนื้อกระดูกลดลงเร็วตามไปด้วย

ปัจจัยที่ก่อให้เกิดกระดูกพรุนนั้นมีทั้งที่ควบคุมได้และควบคุมไม่ได้ ลองมาดูกันนะคะ ว่ามีอะไรบ้าง

  • วัยทอง เมื่อผู้หญิงขาดฮอร์โมนเอสโตเจน จึงทำให้เกิดการละลายกระดูกมากกว่าปกติ
  • อายุ เมื่ออายุมากการเกิดกระดูกพรุนก็มากด้วย
  • ขนาดของร่างกาย ผู้ที่รูปร่างผอมและตัวเล็กจะเกิดกระดูกพรุนได้ง่าย
  • ประวัติครอบครัว ผู้ที่มีในครอบครัวเป็นโรคกระดูกพรุน ก็มีอัตราการเสี่ยงที่จะเกิดกระดูกพรุนได้ง่ายกว่าคนปกติ
  • เกิดจากการรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมต่ำ และรับประทานชา กาแฟมากกว่า 2 แก้วต่อวัน
  • ยา การทานยาบางชนิดต่อเนื่อง เช่น ยากันชัก ยาสเตียรอยด์ ยาเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์ ยารักษามะเร็ง ยากดภูมิคุ้มกัน
  • ไม่ออกกำลังกาย หรือออกกำลังกายมากเกินไป อันส่งผลให้น้ำหนักลดอย่างรวดเร็ว ก็สามารถทำให้กระดูกพรุนได้
  • การดื่มสุราทำให้ฮอร์โมนเอสโตเจนต่ำลง ส่งผลให้กระดูกบาง
  • สูบบุหรี่ วันละ 120-180 มิลลิเมตรจะทำให้กระดูกบางและหักง่าย
  • เกิดจากโรคอื่นๆ เช่น โรคไต โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคมะเร็ง ภาวะฮอร์โมนพาราไทรอยด์สูง

ปัจจุบันการวินิจฉัยว่ามีอาการกระดูกพรุนหรือไม่ ง่ายนิดเดียวคะ โดยการตรวจความหนาแน่นของกระดูก (Bone Mineral Density / BMD) เป็นการตรวจด้วยแสงเอกซ์เรย์ตามจุดต่างๆที่ต้องการทราบว่ากระดูกพรุนหรือไม่ แล้วใช้คอมพิวเตอร์ช่วยคำนวณหาค่าความหนาแน่นของกระดูก

  • ถ้าได้  T-score ≥ -1  ของค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน หมายความว่า มีความหนาแน่นของมวลกระดูกในระดับปกติ
  • ถ้าได้  T-score ≤ -2.5 ของค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน หมายความว่า กระดูกพรุน และมีความเสี่ยงต่อกระดูกหัก

อาการกระดูกพรุน เกิดขึ้นได้กับทุกๆคน อยู่ที่ว่าแต่ละคนจะสะสมมวลกระดูกมาอย่างดีตั้งแต่ต้นก็จะทำให้กระดูกแค่บางลงตามวัย แต่ไม่ถึงกับกระดูกพรุน การดูแลกระดูกให้แข็งแรงด้วยการรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง อย่าง นม ปลาตัวเล็กๆ ผักใบเขียว ถั่วต่างๆ ออกกำลังกายสม่ำเสมออย่างน้อย 30นาทีต่อวัน และอีกสิ่งหนึ่งที่เรามักมองข้าม นั้นก็คือ แสงแดด แสงแดดช่วยให้เราสังเคราะห์วิตามินดีได้ ซึ่งเป็นวิตามินที่ช่วยในการดูดซึมแคลเซียมของร่างกาย ออกมารับแสงแดดสักวันละ 10-15 นาที ก็ช่วยให้กระดูกแข็งแรงได้นะคะ เราสามารถช่วยเสริมแคลเซียมให้แก่ร่างกายได้ตลอดเวลาคะ

Previous articleล้างสารพิษในร่างกาย (Detox) เพื่อสุขภาพ เพิ่มภูมิคุ้มกันโรค
Next articleสมุนไพรไทยรักษาสิว การรักษาสิวด้วยวิธีธรรมชาติ ได้ผลจริง