ผลไม้และผักชนิดไหนบ้าง ทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร

0
10

อาการท้องอืดและแก๊สในกระเพาะอาหารเป็นปัญหาที่หลายคนประสบเมื่อรับประทานผักหรือผลไม้บางชนิดที่มีคุณสมบัติทำให้เกิดแก๊ส แม้ว่าผักและผลไม้เหล่านี้จะมีประโยชน์ต่อสุขภาพ แต่ก็อาจส่งผลต่อระบบย่อยอาหารของบางคน แล้วมีผัก-ผลไม้ชนิดไหนบ้างมาดูกัน

ผลไม้และผักชนิดไหนบ้างที่ทำให้เกิดแก๊สในท้อง

ผักและผลไม้ที่เรารับประทานกันอยู่ประจำ อาจเป็นตัวการของการเกิดแก๊สในท้อง ทำให้รู้สึกอึดอัด แน่นท้อง

ผักที่ทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร

1.ถั่ว (เช่น ถั่วลันเตา ถั่วแดง ถั่วเขียว) ถั่วมีคาร์โบไฮเดรตที่เรียกว่าโอลิโกแซ็กคาไรด์ ซึ่งร่างกายย่อยยาก แบคทีเรียในลำไส้จะย่อยแทน ทำให้เกิดแก๊ส แนะนำให้แช่ถั่วในน้ำก่อนปรุงอาหารเพื่อลดสารที่ทำให้เกิดแก๊ส

2.กะหล่ำปลี เนื่องจากมีสารซัลเฟอร์และไฟเบอร์ที่ไม่ละลายน้ำ ซึ่งทำให้เกิดแก๊สระหว่างการย่อย ควรรับประทานแบบปรุง เพื่อช่วยย่อยง่ายขึ้น

3.บรอกโคลี เป็นผักในตระกูลเดียวกับกะหล่ำปลี มีซัลเฟอร์และไฟเบอร์สูง เลี่ยงการรับประทานดิบ

4.หอมใหญ่และกระเทียม มีสารฟรุกแทน (Fructans) ซึ่งย่อยยากและกระตุ้นให้เกิดแก๊ส ควรรับประทานแบบปรุงให้สุก

5.ข้าวโพด มีคาร์โบไฮเดรตที่ร่างกายบางคนย่อยได้ไม่สมบูรณ์ จึงควรเคี้ยวให้ละเอียดเพื่อช่วยย่อย

ผลไม้ที่ทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร

1.แอปเปิล มีน้ำตาลฟรุกโตสและไฟเบอร์สูง ซึ่งทำให้แบคทีเรียในลำไส้หมักและเกิดแก๊ส แนะนำให้ปอกเปลือกก่อนรับประทานและลดปริมาณการบริโภค

2.ลูกแพร์ มีน้ำตาลฟรุกโตสและโพลิออลที่ย่อยยาก ควรรับประทานในปริมาณน้อยและเลือกผลสุก

3.กล้วย มีไฟเบอร์และน้ำตาลที่อาจทำให้เกิดแก๊สในคนที่ระบบย่อยอาหารไม่สมดุล โดยเฉพาะอย่างยิ่งกล้วยสุกมากๆ

4.องุ่น มีน้ำตาลธรรมชาติสูง และในบางคนอาจย่อยได้ไม่สมบูรณ์ สามารถรรับประทานได้แต่เพียงน้อย

5.มะม่วง เป็นผลไม้ที่มีมีน้ำตาลฟรุกโตสสูง ไม่ควรทานคู่กับอาหารที่ย่อยยาก

วิธีลดอาการท้องอืดจากผักและผลไม้

  1. หากคุณไม่คุ้นเคยกับการบริโภคไฟเบอร์สูง ควรเริ่มรับประทานทีละน้อย

2.ดื่มน้ำมากขึ้น ช่วยให้ไฟเบอร์ในผักและผลไม้เคลื่อนผ่านลำไส้ได้ง่าย

  1. การปรุงสุกช่วยลดสารที่ทำให้เกิดแก๊ส

4.รับประทานโปรไบโอติก ช่วยปรับสมดุลแบคทีเรียในลำไส้

ผักและผลไม้หลายชนิดแม้จะมีประโยชน์ต่อสุขภาพ แต่ในบางคนอาจทำให้เกิดแก๊สและอาการท้องอืดได้ หากคุณมีปัญหาเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร ควรเลือกรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม และปรับเปลี่ยนวิธีการปรุงอาหารเพื่อช่วยลดอาการไม่สบายในกระเพาะอาหาร

Previous articleข้อควรรู้ก่อนทำประกันสุขภาพเหมาจ่าย: เลือกอย่างไรให้คุ้มค่า?
Next articleวิธีกำจัดกลิ่นคาวอาหารทะเลที่ติดมือและภาชนะ