ปัจจัยและสาเหตุ โรคหอบหืด (Asthma) ดูแลป้องกันอย่างไรดี

0
1284

โรคหอบหืด (Asthma) เป็นโรคในระบบทางเดินหายใจ ที่เกิดจาการอักเสบเรื้อรังของหลอดลม ที่ไวต่อสิ่งกระตุ้น (สารก่อภูมิแพ้) มากกว่าปกติ จึงเกิดอาการแพ้ ระคายเคืองและอักเสบทำให้หลอดลมหดเกร็ง ตีบแคบลง อาการบวม และอาจมีเสมหะมากกว่าปกติ วันนี้เรามารู้จักกับ ปัจจัยและสาเหตุโรคหอบหืด กัน

 

โรคหอบหืด
ภาพประกอบจาก: en.wikipedia.org

เมื่อโรคหอบหืดกำเริบผู้ป่วยจะมีอาการหอบ ไอ แน่นหน้าอก หายใจถี่ หายใจลำบาก เสียงหายใจมีเสียงดังหวีดๆ ในผู้ป่วยบางรายมีผื่นสีแดงขึ้นตาม อาการเหล่านี้มักจะเป็นๆหายๆ ได้ตลอดเวลา เมื่อได้รับสิ่งกระตุ้นอาการก็จะกำเริบขึ้นมาอีก ทั้งนี้อาการของโรคที่เกิดในแต่ละบุคคลจะมีความรุนแรงแตกต่างกันไป ในบางรายหากอาการหนักอาจทำให้เสียชีวิตได้เลยคะ

โรคนี้เป็นโรคเรื้อรัง ยากที่จะรักษาให้หายขาดได้ ยิ่งถ้าเราไม่สามารถรู้สาเหตุที่กระตุ้นให้เกิดโรคได้ จากการศึกษาผู้ป่วยโรคหอบหืดพบสาเหตุโรคหอบหืดหลายอย่าง เช่น

  • แพ้สารก่อภูมิแพ้ ที่หายใจเข้าไปเช่น ไรฝุ่น เกสรดอกไม้ เชื้อรา ขนสัตว์ ขี้หรือซากแมลงสาบ หรืออาจเกิดจากสิ่งที่รับประทานเข้าไปจากอาหารและยา (ยาลดความดันโลหิตกลุ่มบีตา บลอกเกอร์,ยากลุ่มแอสไพริน) ก็เป็นไปได้ สำหรับอาการหอบหืดที่เกิดจากสารก่อภูมิแพ้นั้น ผู้ป่วยต้องสังเกตุตนเอง เพื่อจะได้ทราบว่าสิ่งใดเป็นสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดโรค เป็นการง่ายที่จะควบคุมไม่ให้เกิดโรคได้ เริ่มเป็นคนช่างสังเกตุกันได้แล้วนะคะ
  • โรคหอบหืดสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรม เรียกว่าเราจะมีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดโรคนี้มากกว่าบุคคลทั่วไป ถ้าคนในครอบครัวของเรามีประวัติเป็นโรคภูมิแพ้หรือโรคหอบหืดอยู่แล้ว ก็เป็นสาเหตุโรคหอบหืดด้วย แต่ถ้าเรามีร่างกายที่แข็งแรงโรคอาจไม่แสดงอาการออกมาก็ได้ ไม่ต้องกังวลคะ
  • การติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจส่วนบน อย่างโรคหวัด ผู้ป่วยมักมีอาการของโรคเมื่อเกิดการติดเชื้อ
  • การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ อย่าง ช่วงเวลาก่อนฝนจะตก ,ในช่วงที่มีอากาศเย็นหรือร้อนจัด เป็นต้น
  • การไอ ก็เป็นสาเหตุโรคหอบหืด ได้เพราะการไอทำให้หลอดลมหดตัว หายใจลำบาก
  • มารดาที่สูบบุหรี่ระหว่างตั้งครรภ์ อาจเพิ่มโอกาสให้ทารกในครรภ์จะเป็นโรคหอบหืดได้
  • การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ เช่น ความเครียด การร้องไห้มากๆ
  • การได้รับสารเคมีที่เป็นพิษ และสามารถกระตุ้นให้เกิดอาการของโรค
  • การออกกำลังกายที่หนักจนเกิดไป ทำให้เราต้องหายใจลึก เร็ว หนักขึ้นและบางครั้งอาจต้องหายใจทางปากช่วย เพื่อดึงออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายในขณะเดียวกันก็ต้องการขับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากร่างกายด้วย ส่งผลให้ทางเดินหายใจแห้งและเย็นซึ่งเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการหดเกร็งของหลอดลม หายใจเสียงดัง ไอ อึดอัด

การดูแลตนเองโดยพยายามหลีกเลี่ยงปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคหรือกระตุ้นให้อาการกำเริบ หมั่นออกกำลังกายที่เหมาะสมกับโรคหอบหืดจะช่วยให้อาการดีขึ้นได้ มีความเชื่อที่ไม่ค่อยถูกต้องนักที่ว่า ผู้ที่เป็นโรคหอบหืดไม่สามารถออกกำลังกายได้ แท้จริงไม่ใช่นะคะ แต่ต้องรู้จักวิธีการออกกำลังกายที่ถูกต้องคะ อย่างเช่น ควรออกกำลังกายในสถานที่ที่มีอากาศถถ่ายเท โล่ง มีอุณหภูมิและความชื้นที่พอเหมาะ ไม่ควรออกกำลังกายในที่ๆมีอากาการหนาวเย็นหรือลมแรง และไม่ควรออกกำลังกายที่หักโหม

ถึงแม้ว่า โรคหอบหืด จะไม่ใช่โรคที่ร้ายแรงนัก แต่หากเกิดอาการบ่อยๆ จะมีผลกระทบต่ออารมณ์ จิตใจ การดำรงชีวิตประจำวัน การทำงาน การเรียนเป็นอย่างมาก เพราะอาจต้องหยุดงานบ่อยๆ ทำให้งานคั่งค้าง หรือไม่สามารถร่วมกิจกรรมและกีฬาที่ต้องใช้กำลังมากๆ ทำให้ขาดความมั่นใจในตนเองและขาดความภูมิใจในตนเองได้ หากเราหันมาดูแลตนเองมากขึ้น พบแพทย์เป็นประจำและทานยา/ใช้ยาตามที่แพทย์แนะนำ รักษาสมดุลทั้งทางร่างกายและจิตใจ ก็จะทำให้อาการของโรคไม่กำเริบได้คะ เป็นกำลังใจให้นะคะ

Previous articleการเลือกซื้อวิตามินซี กิน Vitamin C อย่างไรได้ประโยชน์
Next articleสารก่อภูมิแพ้ สิ่งใกล้ตัวที่เป็นสาเหตุ