รักษาโรคด้วยวิธี ฝังเข็ม สร้างสมดุลในร่างกายให้ทำงานเป็นปกติ

0
943

รักษาโรคด้วยวิธี ฝังเข็ม (Acupuncture) กระตุ้นและ หยุดยั้ง สมดุลในร่างกายให้ทำงานเป็นปกติ ก่อนอื่นเราต้องมาดูก่อนว่า การฝังเข็มนั้นมีความเป็นมายังไง และทำไมการรักษาด้วยการฝังเข็มนั้นเป็นที่ยอมรับในแพทย์แผนปัจจุบัน และเป็นที่ยอมรับทั้งในประเทศและต่างประเทศ

ฝังเข็มฝังเข็ม เป็นวิธีการรักษาของชาวจีนมีมานานแต่โบราณ คือ การนำเอาเข็มไปฝังส่วนต่างๆ ของร่างกาย เพื่อการกระตุ้น หรือ เพื่อการยับยั้ง การทำงานของอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกายของเรา ที่มีความสัมพันธ์กับเส้นลมปราณ (meridian) ซึ่งมีด้วยกัน 349 จุดตามที่องการอนามัยโลกได้ประกาศไว้ และเมื่อแตกย่อยไปอีก เส้นลมปราณในแต่ละเส้น ก็จะมีจุดฝังเข็มอีกหลายจุด แต่ละจุดก็มีชื่อแตกต่างกัน ผู้ที่ฝังเข็มต้องเป็นผู้ที่มีความชำนาญมากเป็นพิเศษ

ในปัจจุบัน การรักษาด้วยวิธีการฝังเข็มเป็นที่นิยมมากขึ้นทั้งในประเทศ และต่างประเทศ เช่น ที่โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า ได้รักษาโรคต่างด้วยการฝังเข็ม และโรคที่นิยมฝังเข็มมากที่สุด คือ ปวดต้นคอ ปวดบ่า ปวดหลัง ปวดไหล่ ปวดส้นเท้า ปวดเอว

วิทยาศาสตร์การแพทย์ กับ การฝังเข็ม ได้ให้ข้อมูลไว้ว่า การรักษาโรคด้วยวิธีการฝังเข็มสามารถรักษาโรคได้ โดยอาศัยกลไกจากการฝังเข็ม คือ

  • ปรับกลไกการทำงานของอวัยวะของร่างกายให้สมดุล
  • ยับยั้งการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน
  • ปรับการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน
  • คลายกล้ามเนื้อที่เกร็ง
  • ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดเฉพาะจุด หรือทั่วร่างกาย

การรักษาด้วยวิธีฝังเข็ม ที่ได้ผลดีที่สุด คือ โรคที่เกิดในระยะแรก และระยะกลาง ถ้าใครเป็นแล้วไปรักษาตั้งแต่แรก ก็จะหายได้ แต่ถ้าปล่อยไว้นานแล้วไปรักษาด้วยฝังเข็ม ผลที่ออกมาก็แค่บรรเทาความเจ็บปวด

การฝังเข็มบนใบหน้าเพื่อแก้ไขจุดต่างๆ บนใบหน้า

ความสัมพันธ์ระหว่างปอด กับผิวพรรณนั้น เกี่ยวข้องกันได้อย่างไร ตามแพทย์แผนจีนนั้นได้กล่าวไว้ว่า ลมปราณที่เกิดจากปอดที่ไม่แข็งแรงนั้นย่อมส่งผลให้เลือดไปเลี้ยง ตามเซลล์ ผิวหนังไม่คล่อง เลือดไหลเวียนไม่ดี ไหลเวียนไม่สะดวก ส่งผลให้ผิวหนังเกิดฝ้า เกิดกระ ได้ ดังนั้นการฝังเข็มจะสามารถทำให้ระบบการไหลเวียนของเลือดดีขึ้น การฝังเข็มบนใบหน้าเพื่อความงามก็ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน คือ

  • ฝังเข็มเพื่อหน้าใส
  • ฝังเข็มเพื่อรักษาฝ้า
  • ฝังเข็มรักษาสิว

แต่ก็มีการฝังเข็มบนใบหน้าที่ไม่สามารถช่วยได้ ก็คือ กระลึก ปานแดง ปานดำ เป็นต้น

มีข้อมูลจากวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ได้สนับสนุนเกี่ยวกับการรักษาโรคด้วยวิธีการฝังเข็ม เป็นข้อมูลจาก สมาคมแพทย์ฝังเข็มและสมุนไพร ได้กล่าวไว้ได้อย่างน่าสนใจ เกี่ยวกับอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย เรามาดูกันว่ามีอวัยวะอะไรบ้าง

  • ก้านสมองของเราเป็นศูนย์รวมของระบบเส้นประสาทของอวัยวะต่างๆ ของร่างกายเรา ดังนั้นการฝังเข็มปลายประสาท จะเป็นการกระตุ้นไปยังสมอง ซึ่งการกระตุ้นนี้จะมีผลต่อการทำงานของอวัยวะต่างๆ ของร่างกายเรา
  • ไม่น่าเชื่อก็ต้องเชื่อ เมื่อสารเอนดอร์ฟิน (ndorphins) ที่เราได้ยินกันมานั้น เป็นสารระงับความเจ็บปวด เมื่อฝังเข็มไปแล้ว สมองก็จะหลั่งสารนี้ออกมามากกว่า 1,000 เท่า ซึ่งมากกว่า ยามอร์ฟินซะอีก
  • เนื้อเยื่อที่อักเสบ ถ้าถูกกระตุ้นด้วยการฝังเข็ม สารที่ออกมา และช่วยรักษาได้ คือ ACTH และฮอร์โมนคอร์ติโคสเตียรอยด์

จุดที่น่าทึ่งไปอีก ที่เรียกว่า ฝังเข็มจุดเดียว ที่เรียกว่า จุด “ทวิภาพ” (Biphasic effect)แต่ผลที่ได้กลับกลายเป็นผลดี คือ “กระตุ้น” และ “ยับยั้ง” แล้วมันดียังไง ไปดูกัน

  • กระตุ้นให้จังหวะหัวใจที่เต้นช้า เมื่อฝังเข็ม ก็จะเป็นการกระตุ้นให้หัวใจทำงานในสภาวะปกติ เรียกว่าปรับสมดุล
  • กระตุ้นให้จังหวะหัวใจที่เต้นช้า เมื่อฝังเข็ม ก็เป็นการกระตุ้นให้หัวใจทำงานเร็วขึ้น จนกลับเข้าสู่สภาวะปกติ

จากจุดนี้เอง การฝังเข็มจึงไม่เป็นอันตรายต่อการรักษาโรค เมื่อเทียบกับการใช้ยา และก็เป็นที่ได้รับความนิยมมากจนปัจจุบัน

เมื่อฝังเข็มแล้ว จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง

เมื่อแพทย์ได้ปักเข็มลงไป แล้วทำการกระตุ้น ปลายของเส้นประสาทของเนื้อเยื่อแต่ละชั้น ตั้งแต่ชั้นผิวหนัง ชั้นเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง เยื่อหุ้มกล้ามเนื้อ ตลอดจน กล้ามเนื้อ เส้นประสาท และหลอดเลือดเป็นต้น ก็จะทำให้สัญญาณเส้นถูกกระตุ้นวิ่งผ่านเข้าไปในไขกระดูกสันหลังซึ่งมีเซลล์ประสาท 2 ส่วน คือ “เซลล์ประสาทรับความรู้สึกที่เรียกว่า รากเส้นประสาทด้านหลัง (dorsal root)หน้าที่นำความรู้สึกจากส่วนต่างๆของร่างกายเข้ามายังไขสันหลัง” และ “รากเส้นประสาทด้านหน้า (ventral root)เซลล์ประสาทนำคำสั่ง (motor nerves) ทำหน้าที่รับคำสั่งจากไขสันหลังออกไปยังกล้ามเนื้อหรือต่อมต่างๆภายในร่างกาย”

โรคที่ฝังเข็มแล้วได้ผลดีกับการรักษา

การฝังเข็มได้ผลดีกับอาการปวดต่างๆ เช่น ปวดหัว ไมเกรน ปวดประจำเดือนรุนแรง อาการอ่อนแรง โรคเส้นเลือดในสมองตีบ อัมพฤกษ์/อัมพาต อาการชาจากโรคเบาหวาน โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง อาการนอนไม่หลับ มึนงง โรคกรดไหลย้อน ความดัน และโรคภูมิแพ้

เตรียมตัวก่อนจะไปฝังเข็ม ต้องทำอย่างไรบ้าง

สิ่งที่คนเรากลัวมากเมื่อเข้าโรงพยาบาล คือ กลัวเข็ม และการรักษาด้วยวิธีฝังเข็ม ซึ่งชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าต้องใช้เข็มจำนวนมากในการรักษา ใครที่รับการรักษาก็ต้องให้ความร่วมมือกับแพทย์ด้วย ดังนั้นขั้นตอนพอจะกล่าวได้ดังนี้ ว่าเตรียมตัวยังไง

  • ทำความสะอาดร่างกาย มือ เท้า ผม หัว นิ้วมือ นิ้วเท้า ส่วนต่างๆ ของร่างกายให้สะอาดก่อนรับการฝังเข็ม
  • ใส่เสื้อผ้าให้เหมาะสม ไม่แน่นมาก อย่าลืมว่า การฝังเข็ม จะมีการฝังตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย บางครั้งก็ฝังในส่วนร่มผ้าที่มิดชิด ก็ต้องสวมใส่ผ้าที่สามารถแยกเป็นชิ้นๆ ไป เพื่อความรวดเร็วในการรักษา
  • ขณะฝังเข็มต้องทำใจให้นิ่งสงบ เข็มที่ปักลงไปอาจจะเจ็บบ้างเล็กน้อย ซึ่งบางท่านอาจใจไม่นิ่งพอ ทำให้ร่างกายขยับเขยื่อนส่งผลให้การฝังเข็มล่าช้าออกไป
  • หลังจากการฝังเข็มเสร็จสิ้นลง แพทย์ก็จะปล่อยให้ ร่างกายที่มีเข็มฝังอยู่ รอ ประมาณ 20 ถึง 30 นาที แพทย์ก็จะทำการถอนเข็มออก ระหว่างนี้ก็จะมีเลือดออก ก็คล้ายกับถูกฉีดยาด้วยหมอนั่นละ ก็ใช้สำลีอุดเอาไว้ เดี๋ยวเลือดก็จะหยุดไปเอง

ผู้ที่ไม่เหมาะแก่การฝังเข็ม เพราะจะทำให้การรักษาไม่ได้ผลเท่าที่ควร

  • ผู้สูงวัยที่อวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายเสื่อมมาก การฝังเข็มจะไม่มีประสิทธิภาพมากพอที่ไปกระตุ้น หรือยับยั้งตามจุดต่างๆ ของร่างกายได้
  • หญิงมีครรภ์ เพราะไม่สามารถนั่งอยู่นิ่งๆ เป็นเวลานานได้
  • เด็กเล็ก ซึ่งไม่สามารถให้ความร่วมมือในการรักษาได้เลย
  • ผู้ป่วยที่อยู่ในอาการโคมาร มีเครื่องช่วยหายใจ
  • โรคติดเชื้อ
  • อุบัติเหตุฉุกเฉิน

รวมโรงพยาบาลที่รับฝังเข็ม

  • โรงพยาบาลพระนั่งเกล้าโรคที่ผู้ป่วยไปฝังเข็มมาก คือ ปวดต้นคอ, ปวดบ่า, ปวดหลัง, ปวดไหล่, ปวดส้นเท้า, ปวดเอวเป็นต้น
  • คลินิกแพทย์ฝังเข็มวิภาวดี ฝังเข็มเพื่อรักษา อัมพาต, อัมพฤกษ์แขน-ขา อ่อนแรง, ปวดศีรษะ, นอนไม่หลับ, เครียด วิตกกังวล, ท้องผูกเป็นต้น
  • โรงพยาบาลวิภาวดี รับฝังเข็มเพื่อความงาม เช่น สิว ฝ้า กระ จุด ลบริ้วรอยบนใบหน้า ลดไขมันส่วนเกินส่วนต่างๆ ของร่างกาย ฝังเข็มหมด
  • โรงพยาบาลกลาง รักษาโรคด้วยการฝังเข็ม เช่น ปวดหลัง ปวดคอ โรคทางเดินหายใจ โรคทางเดินอาหาร โรคระบบกล้ามเนื้อต่างๆ
  • โรงพยาบาลหัวเฉียว แพทย์แผนจีน

อัตราค่าบริการรับการฝังเข็ม การรักษาด้วยวิธีฝังเข็ม แต่ละโรคจะต่างกัน เช่น ฝังเข็มเพื่อรักษาโรคไมเกรน ต้องฝังเข็มประมาณ 15 ครั้ง แต่ละครั้งก็จะมีค่าใช้จ่าย ก็แล้วแต่สถานที่รักษาจะกำหนด ก่อนเข้ารับการรักษา ก็ให้ตรวจเช็คราคาก่อน เพราะแต่ละแห่ง แต่ละพื้นที่ราคาก็จะต่างกัน ถ้าเป็นเอกชน หรือคลินิก ก็จะสูง แต่ถ้าเป็นของรัฐ ราคาค่าฝังเข็มก็จะน้อยกว่าเอกชน

การรักษาโรคด้วยแพทย์แผนปัจจุบัน หรือแพทย์ทางเลือก ย่อมมีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันออกไป การฝังเข็มก็เหมือนกัน ก็ย่อมมีข้อดีข้อเสียดังที่กล่าวมา แต่เราสามารถปรับการรักษาทั้งแพทย์ปัจจุบัน และแพทย์ทางเลือกเข้าด้วยกันได้ โดยที่เราได้รับข้อมูลในการรักษาที่ถูกต้อง ซึ่งการรักษาด้วยวิธีการฝังเข็มได้รับการรับรองจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ว่าสามารถรักษาโรคต่างๆ ดังที่ได้กล่าวมาได้ โดยที่ไม่เป็นอันตราย หรือมีผลข้างเคียงต่อสุขภาพ

ข้อมูลอ้างอิง

ชวนไป…“ฝังเข็ม” ที่ รพ.พระนั่งเกล้า – manager.co.th
การฝังเข็มรักษาโรคอะไรได้บ้าง ? – thaiacupuncture.net
เส้นประสาทไขสันหลัง – doctor.or.th
การฝังเข็ม – th.wikipedia.org
โรคที่องค์การอนามัยโลกรับรองเกี่ยวกับการรักษาด้วยวิธีฝังเข็ม – it-gateways.com
ฝังเข็มเพื่อความงาม – vibhavadi.com

Previous articleโรคแพ้ภูมิตัวเอง (โรคพุ่มพวง) เมื่อภูมิคุ้มกันทำร้ายเรา
Next articleสมุนไพรรักษา โรคสะเก็ดเงิน (โรคเรื้อนกวาง)