เมกะโอห์มมิเตอร์คืออะไร สำคัญแค่ไหนที่ต้องตรวจสอบความต้านทานฉนวน

0
1051

เมื่อพูดถึง Insulation tester หลายคนอาจจะไม่ค่อยคุ้นชื่อ หรือคุ้นๆ แต่นึกไม่ออก แล้วกำลังสงสัยว่ามันคืออะไร แต่ถ้าหากพูดถึงเมกะโอห์มมิเตอร์ (Mega Ohm Meter) ก็อาจจะร้องอ๋อทันที แน่นอนว่าในกลุ่มคนทำงานเกี่ยวกับด้านไฟฟ้าก็จะเข้าใจในเรื่องนี้กันอยู่แล้ว

เมกะโอห์มมิเตอร์

แต่หลายๆ ครั้ง หากคุณทำงานในแผนกอื่นที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้ออุปกรณ์ หรือจำเป็นที่จะต้องพิจารณาเกี่ยวกับการจัดซื้ออุปกรณ์ตัวนี้ ก็ต้องทำความรู้จักกับเมกะโอห์มมิเตอร์กันให้ดี เพื่อให้คุณสามารถเลือกใช้งานได้อย่างเหมาะสมมากที่สุด

เมกะโอห์มมิเตอร์คืออะไร?

เมกะโอห์มมิเตอร์ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการทดสอบค่าความต้านทานฉนวนไฟฟ้าในสายเคเบิล มอเตอร์ไฟฟ้า ฮีตเตอร์ หรือแม้กระทั่งอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ (และอาจจะรวมไปถึงดินด้วยก็ได้เช่นกัน) โดยสามารถทดสอบค่าความเป็นฉนวนได้ว่าขดลวดภายในสามารถทนแรงดันไฟฟ้าได้ตามระดับมาตรฐานที่กำหนดเอาไว้นั่นเอง

ทำไมถึงจำเป็นที่จะต้องมีการทดสอบค่าความต้านทานฉนวนไฟฟ้า

การทดสอบค่าความต้านทานฉนวนไฟฟ้ามีไว้เพื่อป้องกันอันตรายที่เกิดขึ้นจากไฟดูดที่เกิดขึ้นจากการสัมผัสโดยไม่ได้ตั้งใจ รวมไปถึงป้องกันอันตรายจากไฟไหม้ที่เกิดขึ้นจากไฟฟ้าลัดวงจจ นอกจากนี้แล้วยังช่วยลดความเสียหายของอุปกรณ์ หรือจำกัดจำนวนการหยุดทำงานของอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ โดยจะเป็นการตรวจจับการเสื่อมของฉนวน แล้วทำการบันทึกลงในตารางซ่อมแซม ซึ่งจะช่วยในการประเมินคุณภาพของการซ่อมแซมก่อนที่อุปกรณ์จะถูกนำกลับไปใช้งานอีกครั้งหนึ่ง

เมื่อความต้านทานของฉนวนต่ำในการติดตั้ง ก็อาจจะส่งผลให้เกิดกระแสไฟฟ้ารั่ว และทำให้เกิดการสิ้นเปลืองพลังงาน และอาจจะเพิ่มต้นทุนในการติดตั้งได้อีกด้วย

ค่ามาตรฐานความต้านทานฉนวนที่ปลอดภัยอยู่ที่เท่าไหร่

ตามมาตรฐาน IEC 60364 ที่เป็นมาตรฐานสากลด้านการติดตั้งไฟฟ้าในอาคาร ได้กำหนดเงื่อนไขของค่าต่ำสุดสำหรับความต้านทานฉนวน โดยจะทำการทดสอบด้วยแรงดันทดสอบเฉพาะ ไม่มีอุปกรณ์ใดเชื่อมต่อเข้ากับวงจร

  • สำหรับแรงดันของวงจร SEL, PELV (< 50V กระแสสลับ < 120V กระแสตรง) ที่มีการใช้แรงดัน 250V โดยเครื่องทดสอบความเป็นฉนวน ต้องมีค่าความต้านทานของฉนวนมากกว่า 0.5MΩ
  • สำหรับแรงดันของวงจรไม่เกิน 500 V (รวมถึง FELV) โดยยกเว้นกรณีข้างต้น ที่มีการใช้แรงดัน 500V โดยเครื่องทดสอบความเป็นฉนวน ต้องมีค่าความต้านทานของฉนวนมากกว่า 1MΩ
  • สำหรับแรงดันของวงจรมากกว่า 500V มีการใช้แรงดัน 1000V โดยเครื่องทดสอบความเป็นฉนวน ต้องมีค่าความต้านทานของฉนวนมากกว่า 1MΩ

    * โดยที่เครื่องทดสอบฉนวนหรือเมกะโอห์มมิเตอร์ จะต้องสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าขาออกได้อย่างน้อยที่สุด 1mA 

สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ หากค่าฉนวนสามารถอ่านค่าได้สูงหลายร้อนหรือหลายพันเมกะโอห์ม แสดงว่าฉนวนอยู่ในสภาพที่ดี พร้อมใช้งาน แต่ถ้าเกิดฉนวนมีค่าน้อยกว่า 1 เมกะโอห์ม แสดงว่าฉนวนอยู่ในสภาพที่ไม่พร้อมใช้งาน ควรทำการเปลี่ยนทันที เพื่อป้องกันปัญหาขณะใช้งาน

Previous articleวิตามินซีมีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างไร? คนรักสุขภาพห้ามพลาดเลย!
Next articleพารู้จัก 3 ประเภทวัสดุทำสติ๊กเกอร์ฉลากสินค้าที่เจ้าของธุรกิจต้องรู้