โซล่าฟาร์ม แหล่งผลิตกระแสไฟฟ้า

0
1656

ในยามที่เกิดสภาวะขาดแคลนพลังงานเชื้อเพลิง  เนื่องจากวัตถุดิบหรือเชื้อเพลิงที่นำมาใช้เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้านั้น อย่าง ถ่านหิน น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ เริ่มที่จะลดปริมาณลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้อาจขาดแคลนเชื้อเพลิงในเวลาอันใกล้ การแสวงหาแหล่งพลังงานทดแทนจึงได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อรองรับการขาดแคลนทรัพยากรทางธรรมชาติของแหล่งเชื้อเพลิง

โซล่าฟาร์มพลังงงานแสงอาทิตย์เป็นอีกหนึ่งแหล่งพลังงานที่ได้รับยอมรับว่าสามารถนำมาเป็นแหล่งผลิตกระแสไฟฟ้าได้ ยิ่งกว่านั้นพลังงานแสงอาทิตย์จัดเป็นพลังงานที่มีใช้ได้ตลอด ไม่มีวันหมดสิ้น และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเมื่อเข้าสู่กระบวนการผลิกระแสไฟฟ้าก็ตาม

การนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้านั้น จำเป็นต้องอาศัยแผงโซล่าเซลล์ซึ่งเป็นสารกึ่งตัวนำทีสามารถเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า เมื่อแสงตกกระทบบนแผ่นโซล่าเซลล์ รังสีของแสงที่มีอนุภาคของพลังงานโปรตอนจะถ่ายเทพลังงานให้กับอิเล็กตรอนที่อยู่ในสารกึ่งตัวนำจนมีพลังงานมากพอที่จะกระโดดออกมาจากแรงดึงดูดของอะตอมและเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระ เมื่ออิเล็กตรอนเคลื่อนที่ครบวงจรจะทำให้เกิดไฟฟ้ากระแสตรงขึ้น

การนำแผงโซล่าเซลล์จำนวนมากเพื่อการผลิตกระแสไฟฟ้าในปริมาณมากๆ เราจะเรียกว่า “โซล่าฟาร์ม” นั่นเอง หรือ “โรงงานผลิตไฟฟ้ำพลังงานแสงอาทิตย์”

โซล่าฟาร์ม จำเป็นต้องใช้พื้นที่ค่อยข้างมากเพื่อติดตั้งโซล่าเซลล์จำนวนมากสำหรับการผลิตกระแสไฟฟาให้เพียงพอต่อการใช้งานหรือเพียงพอต่อการจำหน่ายออกไป พื้นที่สำหรับการสร้างโซล่าฟาร์มนั้นจำเป็นต้องเป็นที่โล่งแจ้ง ไม่มีเงามาบดบังแผลโซล่าเซลล์ อย่าง เงาจากต้นไม้ จากตึกอาคาร ป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ ภูเขา เป็นต้น ยิ่งกว่านั้นสถานที่สำหรับสร้างเป็นโซล่าฟาร์มจำเป็นต้องไม่อยู่ใกล้สถานที่มีฝุ่นมาก อย่าง โรงงานผสมปูนซีเมนต์ เหมืองหิน หรือไอระเหยจากนั้นมากเกินไป เพราะผงฝุ่นเหล่านี้จะมาเกาะบริเวณแผงโซล่าเซลล์ ทำให้ไม่สามารถรับแสงอาทิตย์ได้เต็มประสิทธิภาพ

โดยปกติการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ในเมืองไทยนิยมติดตั้งให้ด้านหน้าของแผงเซลล์แสงอาทิตย์หันไปทางทิศใต้ และทำมุมเอียงประมาณ 10-18 องศากับพื้นโลก ชนิดของโซล่าเซลล์ในโซล่าฟาร์ม มีด้วยกัน 3 ชนิดคือ

1.ติดตั้งกับโครงสร้างแบบยึดอยู่กับที่ เป็นการติดตั้งที่ง่ายที่สุด และลงทุนต่ำที่สุด

2.ติดตั้งบนโครงสร้างแบบปรับแกนเดียว การติดตั้งแบบนี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าจากแผงโซล่าเซลล์ แผงโซล่าเซลล์แบบนี้สามารถปรับมุมเอียงแผงโซล่าเซลล์ตามการเปลี่ยนแปลงมุมเอียงของโลกในแต่ละวัน

3.ติดตั้งบนโครงสร้างแบบปรับสองแกน การติดตั้งแบบนี้จะทำให้โซล่าฟาร์มสามารถรับแสงอาทิตย์ได้ดีตามมุมเอียงของโลกในแต่ละวันและการเคลื่อนที่ของพระอาทิตย์จากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตก ทำให้สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้มากขึ้น แต่ก็ต้องแลกกับการลงทุนสูงและการซ่อมบำรุงที่ยุ่งยากมากขึ้นด้วย

ปัจจุบันเราสามารถสร้างโซล่าฟาร์มได้ในหลายลักษณะพื้นที่ เช่น ผืนน้ำ บริเวณอ่าเก็บน้ำ เขื่อน เป็นการลดการใช้พื้นที่ที่เป็นพื้นดิน ตัวอย่างโซล่าฟาร์มบนผืนน้ำที่ใหญ่ที่สุดในโลก อยู่บนทะเลสาบขนาด 516 ไร่ ที่เมืองไหวหนัน มณฑลอันฮุย ประเทศจีน ซึ่งมีพื้นที่เท่ากับสนามฟุตบอล 121 สนาม ประกอบด้วยแผลโซล่าเซลล์จำนวน 165,000 แผง สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 40 เมกะวัตต์ต่อปี ซึ่งนำมาใช้ได้ถึง 200,000 ครัวเรือน มีศึกษาพบว่าโซล่าฟาร์มบนผืนน้ำจะสามารถผลิกระแสไฟฟ้าได้เพิ่มขึ้นถึง 20% เมื่อเทียบกับโซล่าฟาร์มที่ตั้งบนพื้นดิน

การสร้าง โซล่าฟาร์ม ได้รับความนิยมมากขึ้น จึงทำให้ในอนาคตเราอาจจะมีผู้ผลิตกระแสไฟฟ้มากขึ้น มีการแข่งขันในตลาดมากขึ้น และอาจทำให้เราสามารถใช้ไฟฟ้าได้ในราคาที่ต่ำลงกว่าตอนนี้ก็เป็นไปได้คะ

Previous articleวิธีไล่หนู ออกจากบ้านแบบง่ายๆ
Next articleสมุนไพรรักษามะเร็ง บำบัด บรรเทา