ทำอย่างไรดีเมื่อลูกของเราน้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์

0
36

ภาวะโภชนาการที่ดีของเด็ก ที่แสดงออกทางด้านร่างกาย แต่มีผลต่อการพัฒนาสมองด้วย ทำให้สติปัญญาต่ำ เรียนรู้ช้า ส่งผลต่อการเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ประสิทธิ์ภาพ ภาวะน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ในเด็กพบว่าเป็นหนึ่งปัญหาสุขภาพเด็กที่น่ากังวล

สาเหตุของภาวะน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์  

การเกิดภาวะเด็กผอมและน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มักเกี่ยวข้องกับหลายปัจจัย เช่น 

1.การรับประทานอาหารไม่เพียงพอ อาจเกิดจากการเลี้ยงดูที่ให้เด็กรับประทานอาหารที่ไม่เพียงพอหรือไม่มีคุณค่าทางโภชนาการ ด้วยเพราะความไม่รู้หรือตามใจเด็ก 

2.ปัญหาสุขภาพ ภาวะเจ็บป่วย อาจมีโรคเรื้อรัง เช่น โรคทางเดินอาหาร, โรคภูมิคุ้มกัน, หรือความผิดปกติทางเมตาบอลิสม์หรือปัญหาของความพิการแต่กำเนิด เช่น โรคหัวใจ ทำให้การเจริญเติบโตช้า 

3.ปัจจัยทางจิตใจและอารมณ์ ความเครียด, ภาวะซึมเศร้า, หรือปัญหาทางจิตใจอื่นๆ 

4.การนอนหลับไม่เพียงพอ ในระยะแรกน้ำหนักจะต่ำกว่าเกณฑ์ ยังไม่มีผลต่อความสูง แต่ถ้าต่ำอยู่ระยะหนึ่งแล้วจะมีผลต่อความสูง เด็กจะไม่ค่อยสูงเท่าเด็กปกติ 

ผลกระทบของภาวะน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ 

1.การเจริญเติบโตและการพัฒนาที่ล่าช้า ทั้งด้านร่างกายและการพัฒนาทางสมอง อาจส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้และพัฒนาการทางสังคมในระยะยาว 

2.ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของเด็กอ่อนแอลง ทำให้มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อ 

3.ปัญหาด้านสุขภาพระยะยาว เช่น ความผิดปกติทางเมตาบอลิสม์ และปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการกินและโภชนาการ 

  1. ภาวะน้ำหนักต่ำอาจส่งผลต่อสภาพจิตใจและอารมณ์ของเด็ก เช่น ไม่มั่นใจในตนเอง

ทานอาหารอย่างไรเมื่อลูกมีน้ำหนักน้อย 

  1. ให้ทานอาหารครบ 5 หมู่ ผัก ผลไม้ นม 
  2. ควรแบ่งอาหารเป็นมื้อย่อยๆ หากเด็กทานได้น้อยในแต่ละมื้อ
  3. ไม่ให้นมมากเกินไป หลังเด็กอายุ 1 ปีนมจะเป็นอาหารเสริมเท่านั้น และควรให้นมหลังอาหารเท่านั้น
  4. หากเด็กห่วงเล่น อาจให้มีส่วนร่วมในการเตรียมอาหารและฝึกให้ทานอาหารเป็นเวลา และควรทานพร้อมๆ กันทั้งครอบครัว เพื่อเป็นแบบอย่างให้เด็ก
  5. งดอาหารหรือขนมจุบจิบระหว่างมื้อ เพื่อให้เด็กรู้สึกหิวก่อนถึงมื้ออาหาร
  6. ให้เด็กได้ออกกำลังกาย วิ่งเล่น ใช้พลังงานมากๆ ทำให้ทานอาหารได้มากขึ้น
  7. ให้เด็กนอนแต่หัวค่ำ นอนวันละ 8-10 ชั่วโมง ช่วงเวลาการนอนตั้งแต่เวลา 22.00-02.00 น. เป็นช่วงที่ร่างกายมีการหลั่ง growth hormone ซึ่งช่วยในการเจริญเติบโตของเด็ก
  8. ไม่ใช้วิธี การตี ดุว่า บังคับ ใช้อารมณ์กับลูก ให้รางวัลเกินความจำเป็น ในการให้ลูกทานข้าว
  9. ขณะมื้ออาหารไม่ดูโทรทัศน์หรือเล่นของเล่นไปด้วย เพราจะทำให้เด็กไม่สนใจเรื่องรับประทาน อมข้าวและอิ่มเร็ว
  10. ปรับเปลี่ยนลักษณะเมนูอาหารให้แตกต่าง เพื่อไม่ให้เด็กเบื่อ ทำให้ปฏิเสธอาหาร

การส่งเสริมให้ลูกมีภาวะโภชนาการที่ดี มีน้ำหนักและส่วนสูงตามเกณฑ์ ย่อมส่งผลดีต่อตัวเด็กเองในทุกๆด้าน ทั้งร่างกายและสภาวะจิตใจ คุณพ่อคุณแม่อย่าละเลยในเรื่องนี้เป็นอันขาด 

 

Previous article7 แนวคิดแย่ๆที่ทำให้ไม่อยากออมเก็บเงิน
Next articleโรคที่จะตามมาจากการกินหมูกระทะบ่อยๆ คือโรคอะไร